วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ผู้จัดทำ

1..ด.ญ. เพชรลดา  ปานำ        เลขที่ 13
2.ด.ญ  ภัชชา        จริยามา      เลขที่ 14
3.ด.ช.พีรพัฒน์     ศักดิ์แพทย์  เลขที่ 20
4ด.ญ. เกศรา      แก้ว. ใสย์      เลขที่ 23
5.ด.ญ.สุภรพิชญ์   ชัยชนะ      เลขที่ 30

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/1

ตำบลเนินตาแมว

 ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน  ตั้งอยู่บนถนนสายเนินตาแมว-ด่านเก่า หมู่ที่ 8 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด  เส้นทางเดินเป็นสะพานปูนแคบ ลัดเลาะไปภายใต้เรือนยอดป่าชายเลน มีพรรณไม้ในป่าชายเลนมากกว่า 40 ชนิดให้ศึกษา พันธุ์ไม้เด่นที่พบหนาแน่นได้แก่ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็กพังกาหัวสุม โพทะเล รังกะแท้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพืชชั้นต่ำและพืชล้มลุกขึ้นตามคบไม้เหมือนกับที่พบในป่าดงดิบ เช่น เฟิร์นเกล็ดนาคราช กระแตไต่ไม้ นมตำเลียหวายตะมอย และกล้วยไม้ ซึ่งออกดอกในฤดูฝนช่วงเดือน ต.ค.-ก.พ. จะเป็นช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูง โดยเฉพาะในช่วงแรม 12 ค่ำถึงขึ้น 5 ค่ำ น้ำจะขึ้นตอนกลางวันทำให้สภาพธรรมชาติเปลี่ยนไป มีฝูงปลาที่เข้ามาหาอาหารในป่าชายเลน นกที่มาคอยโฉบกินปลา ทางเดินบางช่วงเลียบไปตามคลองบางพระซึ่งเป็นคลองน้ำกร่อยที่มีกุ้งแม่น้ำชุกชุมมาก นักท่องเที่ยวจะเห็นโพงพางของชาวบ้านที่วางดักกุ้งหลวงหรือกุ้งก้ามกรามที่ว่ายน้ำออกมาวางไข่ที่ปากอ่าวและว่ายกลับเข้ามาตอนในของแม่น้ำและถ้ามีโอกาสผ่านไปทางถนนเนินตาแมวที่อยู่หน้าศูนย์ ฯในตอนค่ำจะเห็นหิ่งห้อยบินไปมาเป็นจำนวนมากส่องแสงวับแวมท่ามกลางความมืด เป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจมาก

        จุดเด่นของเส้นทางนี้ คืออยู่ใกล้ตัวเมืองที่สุด ระยะทางห่างจากตัวเมืองตราดประมาณ 5 ก.ม. การเดินทางสะดวก เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวระหว่างตัวเมืองตราดกับเกาะกูด เนื่องจากอยู่ใกล้ท่าเรือไปเกาะกูด จึงเหมาะที่จะเป็นสถานที่นั่งพักผ่อนเพราะทัศนียภาพขนาบน้ำทั้ง 2 ด้าน หรือจะหาความรู้ระหว่างรอการเดินทางก็ได้ เพราะมีศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1 คอยให้บริการนักท่องเที่ยว ในอนาคตศูนย์ ฯ แห่งนี้สามารถรองรับผู้ที่สนใจ เช่นนักเรียน นักศึกษาประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมากโดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินศึกษาได้ 2 เส้นทางคือ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน ระยะทาง 860 เมตร ส่วนเส้นทางหิ่งห้อยระยะทาง 270 เมตร

ข้อมูลจาก//หนังสือพิมพ์บ้านเมือง



.
ที่มา...https://sites.google.com

ตำบลเทพนิมิต

ประวัติความเป็นมา

ตำบลเทพนิมิตรอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอ เขาสมิง มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านคันนาสูง หมู่2 บ้านเกษมสุข หมู่3 บ้านฝาเรือง หมู่4 บ้านเจียรพัฒนา หมู่5 บ้านร่วมมิตร หมู่6 บ้านมณฑล หมู่7 บ้านเขาฉลาด

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดกับ ต.สะตอ อ.เขาสมิง จ.ตราด 
ทิศใต้ ติดกับ ต.แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.ตราด
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.วังตะเคียน อ.เขาสมิง จ.ตราด
่ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ประณีต อ.เขาสมิง จ.ตราด

สาธารณูปโภค

จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 954 ครัวเรือน

ผลิตภัณฑ์

ขนมเปี้ยะ-ขนมฝรั่ง-ผลไม้แปรรูป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตำบลเทพนิมิต
ที่มา..http://www.thaitambon.com/

ตำบลน้ำเชี่ยว

บ้านน้ำเชี่ยว สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึงรางอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากากรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บ้านน้ำเชี่ยวมี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิด อยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร   มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสอง ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย

ที่มา...http://www.paiduaykan.com/

อำเภอแหลมงอบ

คำขวัญจังหวัด เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงล้ำค่า ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง
 คำขวัญอำเภอ แหลมงอบทะเลงาม เลื่องลือนามอ่าวตาลคู่ งอบใจจากงามสวยหรู แดนประดู่ยุทธนาวี
 ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ ถ.สายตราด - แหลมงอบ ม.1 ต.แหลมงอบ อ.แหลมงอบ จ.ตราด
 หมายเลขโทรศัพท์ 039-538143
 หมายเลขโทรสาร 039-538143,039-538144
 เว็บไซต์อำเภอ   https://www.facebook.com/pages/อำเภอแหลมงอบ
 
 ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา           เดิมชื่อ "อำเภอเกาะช้าง" จัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2440  ตั้งอยู่ที่
บ้านด่านเก่า ต.เกาะช้าง มีพื้นที่ครอบคลุมหมู่เกาะทั้งหมดและพื้นดินบนฝั่ง
แต่เนื่องจากที่ตั้งที่ว่าการ อ.เกาะช้าง อยู่บนเกาะ การคมนาคม ไป - มา ลำบาก เพราะมีคลื่นลมแรงเกือบตลอดปี ทำให้ประชาชนจาก ต.แหลมงอบ
ไม่ค่อยเดินทางไปติดต่อราชการที่ อ.เกาะช้าง ทางราชการจึงย้ายที่ว่าการ
อ.เกาะช้าง ไปตั้งอยู่ที่ฝั่งบ้านแหลมงอบ ต.แหลมงอบ แต่ยังใช้ชื่อว่า
อ.เกาะช้าง อยู่ ต่อมาเพื่อให้ชื่ออำเภอสอดคล้องกับสถานที่ตั้ง ทางราชการได้
เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอแหลมงอบ" เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2482 ต่อมา
ต.เกาะช้างได้รับการยกฐานะเป็น กิ่ง อ.เกาะช้าง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2537
ส่วน ต.เกาะกูด และ ต.เกาะหมาก ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่ง อ.เกาะกูด ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2533
 
2.เนื้อที่/พื้นที่152 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่าง เดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม ฝนจะตกชุกมาก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 5,500 มิลลิเมตร ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่าเมืองฝนแปดแดดสี่ 

 ข้อมูลการปกครอง
 
1.ตำบล.......4.... แห่ง3.เทศบาล..2.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....27.... แห่ง4.อบต........... แห่ง

 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
 
1.อาชีพหลัก ได้แก่เกษตรกรรม ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ส้มโอ
ประมง การออกจับปลาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และการเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล การเพาะเลี้ยงหอยนางรม การเลี้ยงปลาน้ำเค็ม และเลี้ยงกุ้งทะเล
 
2.อาชีพเสริม ได้แก่การฝีมือหัตถกรรมในครัวเรือน เช่น จักสานหวาย ไม้ไผ่ คลุ้ม-คล้า จักสานงอบ
ใบจาก และทำกะปิ  การแปรรูปผลไม้ 
 
3.จำนวนธนาคาร
 
มี 1 แห่ง ได้แก่
ธนาคาร กสิกรไทย โทร.039-597045
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อำเภอแหลมงอบ
ที่มา...http://www.amphoe.com/

อำเภอเมืองตราด

 คำขวัญจังหวัด เมืองเกาะครึ่งร้อย พลอยแดงค่าล้ำ ระกำแสนหวาน หลังอานหมาดี ยุทธนาวีเกาะช้าง สุดทางบูรพา
 คำขวัญอำเภอ ศูนย์นัดพบภาคีพัฒนา บูรณาการแหล่งทุนใกล้บ้าน สืบสานเกษตรอินทรีย์ คุณภาพชีวีราษฏร ดีทุกตำบล
 ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ 229 ม.5 ถ.บ้านล่าง - ดอนจวน ต.หนองเสม็ด อ.เมือง จ.ตราด
 หมายเลขโทรศัพท์ 0-3951-1053
 หมายเลขโทรสาร 0-3951-2935
 เว็บไซต์อำเภอ   -
 
 ข้อมูลทั่วไป

1.ประวัติความเป็นมา          เดิมตั้งแต่ พ.ศ.2444 เป็นแขวงขึ้นกับเมืองตราด จนถึง พ.ศ.2451 จึงเปลี่ยนฐานะจากแขวง เป็นอำเภอ ชื่อว่า "อำเภอเมืองตราด" ในปี พ.ศ.2464 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อ  "อำเภอเมืองตราด" เป็น "อำเภอบางพระ" เพื่อให้ตรงกับชื่อตำบล ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ ต่อมา พ.ศ.2481 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภออีกครั้งหนึ่ง เป็น  "อำเภอเมืองตราด" จนถึงปัจจุบัน 
2.เนื้อที่/พื้นที่938.611 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปแบบมรสุม มี 3 ฤดู 

 ข้อมูลการปกครอง
 
1.ตำบล.......13.... แห่ง3.เทศบาล..4.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....98.... แห่ง4.อบต........... แห่ง

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อำเภอเมืองตราด
ที่มา...http://www.amphoe.com/

อำเภอบ่อไร่

ประวัติความเป็นมา
     
  อำเภอบ่อไร่เดิมอยู่ในเขตปกครองของอำเภอเขาสมิงจังหวัดตราดเมื่อวันที่1 สิงหาคม 2513 ได้รับ การยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ประกอบด้วย 3 ตำบลคือตำบลบ่อพลอย ตำบลช้างทูนและตำบลด่านชุมพล เนื่องจากเป็นท้องที่ ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คือ แร่รัตนชาติ(พลอยแดงหรือทับทิมสยาม) จึงมีประชาชน จากจังหวัดต่างๆทั่วประเทศไทย เข้ามาอาศัยอยู่เป้นจำนวนมาก เพื่อแสวงโชคจากการ ขุดแร่พลอย ทำให้กิ่งอำเภอบ่อไร่ มีความจะเจริญอย่างรวดเร็วจึงได้แยกตำบลช้างทูนส่วนหนึ่งออกไป ตั้งเป้นตำบลหนองบอน เพิ่มอีก 1 ตำบล รวมเป็น 4 ตำบล ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ได้รับการยกฐานะเป้นอำเภอ ชื่อ “อำเภอบ่อไร่” ต่อมาเมื่อปี 2529 ได้แยกพื้นที่ ตำบลด่านชุมพลออกไป ตั้งเป็นตำบลนนทรีย์ เพิ่มขึ้นอีก 1 ตำบล รวม 5 ตำบล ที่มาของชื่อคำว่า “ บ่อไร่ “ ในอดีตไม่พบว่าผู้ใดบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่ามีที่มาอย่างไร ได้ สอบถามคนเก่าแก่ ที่มีถิ่นฐาน ดั้งเดิมของอำเภอบ่อไร่แล้วปรากฏที่มาแต่แต่ไม่ขอยืนยันว่าเมื่อก่อนสงคราม โลกครั้งที่1มีนายทุน ชาวกุเหล่าซึ่งมีความรู้ความชำนาญทางด้านพลอยได้เดินทางเข้ามาทำและรับซื้อพลอย ในท้องที่อำเภอบ่อไร่ โดยเดินทางมีช้างเป็นพาหนะผ่านเข้ามาทางเมืองไพลินเมืองพระตะบองประเทศกัมพูชา ข้ามเขาบรรทัด เข้ามายัง อำเภอบ่อไร่ เมื่อถึงอำเภอบ่อไร่แล้วได้หยุดพักปักหลักการทำพลอยขึ้น โดยได้ทำไร่ปลูกข้าวเพื่อเป็นเสบียง ในการทำพลอยมีการขุดบ่อน้ำในบ่อไร่และพบพลอยขึ้นจึงได้มีการขุดบ่อพลอย ในไร่ข้าว และเรียกกันว่า”บ่อไร่” ติดปากต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ 
      ที่ว่าการอำเภอบ่อไร่ตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่3 ตำบลบ่อพลอย อยู่ห่างจากจังหวัดตราด โดยทางรถยนต์ 49 กิโลเมตรห่างทางทิศตะวันออกของจังหวัดมีเนื้อที่ประมาณ 680 ตารางกิโลเมตร

ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาและตำบลตกพรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ทิศใต้ ติดกับตำบลวังตะเคียน ตำบลสะตอ อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลสะตออำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด และอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ
      
สภาพพื้นที่มีสภาพเป็นป่าเขา มีต้นไม้หนาแน่นตามแนวชายแดนและบริเวณเทือก เขาบรรทัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาและเนินเตี้ยๆแบ่งพื้นที่ได้ ดังนี้ พื้นที่ราบ 109,099 ไร่ พื้นที่ 159,272 ไร่ ภูเขา 132,227 ไร่ แม่น้ำ 24,400 ไร่ มีแม่น้ำ 3 สาย คือ คลองบ่อไร่ คลองช้างทูน และคลองโสน ซึ่งไหลไปบรรจบกันเป็นแม่น้ำเขาสมิง

การปกครอง
    
แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 5 ตำบล 33 หมู่บ้าน ดังนี้ ตำบลบ่อพลอย มีจำนวน 10 หมู่บ้าน
ตำบลช้างทูน มีจำนวน 6 หมู่บ้าน
ตำบลหนองบอน มีจำนวน 5 หมู่บ้าน
ตำบลด่านชุมพล มีจำนวน 7 หมู่บ้าน
 ตำบลนนทรีย์ มีจำนวน 5 หมู่บ้าน

ที่มาhttp://www.oocities.org/